
หลังเข้ารับการผ่าตัดบริเวณกระดูกสันหลัง ร่างกายของเราจะเข้าสู่ช่วงฟื้นฟู และจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจจำเป็นต้องปรับพฤติกรรม หรือคอยเตือนตัวเองให้ระมัดระวังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันมากกว่าปกติในช่วงแรก ๆ
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด
การดูแลตัวเองหลังเข้ารับการผ่าตัด อาจแตกต่างกันไปตามระยะเวลา โดยในระยะเริ่มต้นนั้น ผู้เข้ารับการผ่าตัดจำเป็นต้องดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด และต้องปรับวิถีชีวิตประจำวันให้เหมาะสมกับเพื่อการฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพและลดโอกาสเสี่ยงของการบาดเจ็บ โดยอาจแบ่งลักษณะการดูแลเป็นช่วงได้ ดังนี้:
- สัปดาห์ที่ 1 - 4 หลังผ่าตัด: ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ สามารถลุกขึ้นนั่งได้ แต่ไม่ควรนานเกิน 15 - 30 นาที ห้ามแผลโดนน้ำ ควรขยับร่างกายอย่างช้า ๆ ด้วยการเดิน หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่น้ำหนักลงที่หลังหรือมีการเคลื่อนขยับของหลังมาก ๆ การถือของหนังเกิน 1.5 กิโลกรัม และควรใส่เข็มขัดพยุงหลัง
- เดือนที่ 2 - 3 หลังผ่าตัด: สามารถออกกำลังกายโดยการเดินเร็วประมาณ 15 - 30 นาที โดยใส่รองเท้ากันกระแทก สามารถว่ายน้ำได้ โดยเลี่ยงท่าผีเสื้อ ท่ากบ และควรเลี่ยงกีฬาที่ต้องขยับตัวมาก อย่างเช่น ฟุตบอล แบดมินตัน ควรใส่เสื้อผ้าขณะนั่งเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และไม่ควรยกของหนักเกิน 3 กิโลกรัม
- เดือนที่ 4 หลังการผ่าตัด: ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ แต่ยังคงต้องรักษาสมดุลช่วงหลัง โดยกิจกรรมต่าง ๆ ควรทำในท่าที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์
ทั้งนี้ แนวทางการปฏิบัติอาจแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขทางด้านสุขภาพของผู้เข้ารับการผ่าตัดแต่ละบุคคล หากพบว่า บาดแผลมีเลือดหรือน้ำหนองซึม มีอาการปวด บวมแดงบริเวณบาดแผล มีไข้สูง ผ้าปิดแผลหลุด เปียกน้ำ หรือมีอาการผิดปกติทางร่างกายอื่น ๆ ควรเข้าพบแพทย์ทันที
แนวทางบรรเทาอาการปวดหลังรับการผ่าตัด
สามารถบรรเทาอาการปวดด้วยวิธีการประคบเย็นบริเวณแผลผ่าตัดได้ ตั้งแต่หลังผ่าตัดจนถึง 6 สัปดาห์ ในการประคบเย็นหนึ่งครั้ง ควรประคบไม่เกิน 20 นาที และสามารถทำซ้ำได้ 3 - 4 ครั้งต่อวัน ที่สำคัญ ต้องระวังไม่ให้อุปกรณ์ประคบเย็นเกินไป และต้องคอยดูแลให้แผลสะอาดและแห้งอยู่เสมอ
หากท่านสังเกตความผิดปกติของร่างกายที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หลังเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน เนื่องจากอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพเรื้อรังได้ โดยท่านสามารถเข้าพบแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัย และเข้ารับการทำกายภาพบำบัดหรือเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงที ด้วยวิธีการแบบไคโก-โดะ (Kaigo-Do) ได้ที่ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
คลิกที่นี่ เพื่อปรึกษาทีมนักกายภาพบำบัด
บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย:
นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา
ศัลยแพทย์กระดูก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
Latest News

ภาวะที่อาจนำไปสู่ปัญหาคุณภาพชีวิตในระยะยาว การฝึกกลืนกับนักกิจกรรมบำบัดช่วยได้